วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย ปัจจุบันต้องเดินทางโดยเรือหรือแพ ใช้เวลาเดินทางจากเขื่อนภูมิพลประมาณ 56 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทางเรือไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง วัดนี้เงียบสงบมากไม่มีไฟฟ้า จะมีเพียงเครื่องปั่นไฟที่ใช้สำหรับเวลาจำเป็นเท่านั้น เมื่อทราบประวัติของวัดจึงทำให้ทางเราไม่สงสัยเลยว่าทำไมในพื้นที่ห่างไกลจึงยังมีวัดใหญ่ที่เต็มไปด้วยศิลปะอันงดงาม
วัดนี้ได้มีการบูรณะหลายครั้งและครั้งที่สำคัญ ครูบาชัยยะวงศา วัดพระบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน ได้มาบูรณะเจดีย์โดยการสร้างฉัตรขึ้นใหม่ และสร้างเสนาสนะอีกมากมาย ตามตำนานกล่าวว่าในพระเจดีย์บรรจุพระสารีริกธาตุและพระเกศาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญของแคว้นหริภุญไชย เมื่อ ๘๐๐ กว่าปีมาแล้ว มีชื่อว่า เวียงสร้อย เพราะการเดินทางสมัยก่อนต้องเดินทางตามลำน้ำแม่ปิง เวียงสร้อยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีวัดมากมายถึง ๙๙ วัด โดยมีผู้ครองนครหลายชั่วอายุคน มีชาวพื้นเมืองเป็นชาว ลั้วะ เจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายมีชื่อว่า พญาอุตุม ปัจจุบันหลักฐานทางโบราณคดีส่วนใหญ่จมอยู่ใต้น้ำจะปรากฏให้เห็นบ้างเมื่อน้ำลดลงมาก ๆ
วัดดังกล่าวมีความลำบากมากในยามค่ำคืนเนื่องจากไม่มีไฟฟ้าใช้ จากความสำคัญดังกล่าวทางญาติโยมผู้มีจิตรศรัทธาได้รวบรวมทุนทรัพย์โดยมี คณะช่างกองบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล เป็นแม่แรง ทั้งศึกษาความเป็นไปได้ ออกแบบ พร้อมติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้เป็นไฟฟ้าส่องสว่างในยามค่ำคืนให้แด่พระสงฆ์ และส่องสว่างเจดีย์ที่มีความสำคัญยิ่งในเชิงประวัตศาสตร์ล้านนา ดังนั้นทางเอ็นจินีโอจึงขออนุญาติเป็นตัวแทนเพื่อถ่ายทอดกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
จากที่ทีมงานได้สำรวจสรุปได้ว่าจะมีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแสงสว่างจำนวน 7 จุด และได้ออกแบบเพื่อใช้โคมไฟชนิด LED
แผนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิยต์เพื่อการส่องสว่างทั้งหมด 7 จุด
ดังนี้ |
|
1. ศาลาชมวิว
|
|
2. พระบรมธาตุเจดีย์องค์ใหญ่
|
|
3. ศาลาศรัทธาธรรม , ศาลาสามพระครูบา
|
|
4. บริเวณพระเจ้าตนหลวง และซุ้มพระมหาอุปคุต
|
|
5. บริเวณพระนอน
|
|
6. พระธาตุจอมคีรี (เจดีย์คู่)
|
|
7. พระธาตุสะหรีอุ่นเมือง (เจดีย์กลางน้ำ)
|
หลังจากการสำรวจได้วางแผนการจัดวางโคมไฟฟ้าส่องสว่างชนิด LED โดยใช้พลังงานจากแผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้า รูปด้านบนเป็นตัวอย่างของหนึ่งในเจ็ดของแผนการติดตั้งระบบแสงสว่างพลังงานแสงอาทิตย์
หลังจากสำรวจและวางแผนเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างเรียบร้อย ทุกคนพร้อมแล้ว ร่วมมือร่วมใจกันขนของที่ได้เตรียมไว้ ทั้งแผงโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ โคมไฟ LED นอกจากนี้ยังมีแพที่ใช้เป็นที่สำหรับพักผ่อน
กองทัพเดินด้วยท้อง
เมื่อเดินทางมาถึง
ทุกคนก็แบ่งกลุ่มกันทำงานในแต่ละจุดตามที่ได้วางแผนมา
กลุ่มนี้เตรียมติดตั้งโคมไฟหลอด LED
ติดตั้งโคม LED เพื่อใช้ส่องสว่างในเวลากลางคืน ระบบจะเปิดและปิดอัตโนมัติ
แผนกติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
บริเวณหน้าพระพุทธรูปได้ติดตั้งโคมไฟเสร็จแล้ว
หน่วยติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างภายใน
ด้านนอกใช้ไฟฟ้าส่องสว่างหลอด LED ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
โคมไฟ LED ขนาดเล็ก รุ่นใหม่ราคาประหยัด ทำพิเศษสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ หลังจากทดสอบแล้วได้ผลเป็นอย่างดี ทางผู้ดำเนินการแนะนำทางเอ็นจินีโอให้ผลิตเพื่อจำหน่าย เนื่องจากใช้ไฟเพียง 3 วัตต์เท่านั้นเอง (ตอนนี้มีจำหน่ายแล้วราคาเพียง 850 บาทเท่านั้น)
อีกมุมหนึ่งของโคมไฟสปอร์ทไลท์ LED
ทุกจุดติดตั้งโคมไฟ LED และระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
การปฏิบัติงานครั้งนี้ใช้ระยะเวลาหลายวัน แต่มีหน่วยหาสะเบียงอาหาร ซึ่งปลาเป็นอาหารที่หาได้ในเขื่อน
ภาพในยามกลางคืน จากที่ผ่านมามีแต่ความมืดสนิท วันนี้มีแสงไฟมองแล้วดูสวยงาม
เมื่อภาระกิจสำเร็จ ทุกคนได้ของที่ระลึกจากทางวัด หลายวันที่ผ่านมาทำงานด้วยความลำบาก แต่ทุกคนไม่รู้สึกเหนื่อยตรงกันข้า ทุกคนกลับอิ่มเอมใจอย่างบอกไม่ถูก
ทางเอ็นจินีโอต้องขอขอบคุณกองบำรุงโรงไฟฟ้า เขื่อนภูมิพลสำหรับข้อมูลที่ส่งมาให้เราครับ อันที่จริงมีรายละเอียดมากกว่านี้ทางเราเลือกมาเพื่อให้ผู้สนใจได้เห็นภาพการทำงานเพื่อนำไปเป็นประโยชน์ต่อไป